- วิธีการประกอบอาหาร
- การที่เราจะประกอบอาหารได้เราต้องรู้จักวิธีการต้ม การลวก การนึ่ง การตุ๋น การอบ การทอด การเจียว การผัด การคั่ว การรวน การเผา การย่าง การปิ้ง
การต้ม
การต้ม เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยน้ำเดือด เช่น ต้มพะโล้ ต้มข่าไก่ และแกงส้ม เป็นต้น การประกอบอาหารวิธีนี้จะสูญเสียคุณค่าอาหารได้ง่าย เนื่องจากสารอาหารจะละลายไปกับน้ำ ดังนั้นจึงควรรับประทานน้ำที่ต้มอาหารด้วย
การลวก
การลวก เป็นการทำให้อาหารสุกไม่มากนักโดยการใส่อาหารลงไปใน
น้ำเดือด แล้วนำขึ้นภายในระยะเวลาสั้นประมาณ 1-5 นาที แล้วแต่ชนิดของอาหารและความต้องการของผู้รับประทานว่าจะให้สุกมากหรือสุกน้อย เช่น หอยลวก หรือการลวกผักชนิดต่างๆ
การนึ่ง
การนึ่ง เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยความร้อนจากไอน้ำโดยต้มน้ำให้เดือด นำอาหารที่จะนึ่งใส่ในหม้อนึ่งหรือลังถึง แล้วนำขึ้นตั้งบนหม้อน้ำเดือด นึ่งจนอาหารสุก ตัวอย่างอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้ เช่น ห่อหมก ขนมเทียน ปลานึ่ง เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยสงวนคุณค่าของอาหารและรักษาสภาพของอาหารให้คงอยู่เช่นเดิม
การตุ๋น
การตุ๋น เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยความร้อนจากน้ำเดือด โดยผ่านภาชนะสองชั้น ภาชนะชั้นนอกจะใส่น้ำแล้วนำอาหารที่จะตุ๋นใส่ภาชนะชั้นในตั้งลงในน้ำ นำไปวางบนเตา ตุ๋นจนกว่าอาหารจะสุก ในการตุ๋นควรใส่น้ำในภาชนะชั้นนอกให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของภาชนะชั้นในเพื่อไม่ให้น้ำลงไปในอาหารเวลาน้ำเดือด อาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้ เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อตุ๋นและเป็ดตุ๋น เป็นต้น อาหารที่สุกแล้วจะมีลักษณะเปื่อย นุ่ม
การอบ
การอบ เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยการให้ความร้อนโดยรอบ อาหารที่อบจึงเหลือง กรอบและมีลักษณะแห้ง เช่น ไก่อบ ข้าวอบและคุกกี้ เป็นต้น ในปัจจุบันวิธีอบสามารถทำได้สะดวก เนื่องจากมีเตาอบที่สามารถอบอาหารได้หลายประเภท
การทอด
การทอด เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้น้ำมัน มีทั้งการทอดโดยใช้น้ำมันหอย เพื่อไม่ให้อาหารติดกระทะ เช่น ไข่ดาว หมูทอด และการทอดโดยใช้น้ำมันมากเพื่อให้อาหารเหลืองกรอบ เช่น ปลาทอด ปาท่องโก๋ ในการทอกหากเป็นอาหารสดจะต้องใส่อาหารในขณะที่อาหารร้อนจัด ส่วนอาหารแห้งและอาหารที่ชุบแป้งควรใส่ในขณะที่น้ำมันยังร้อนไม่มากนัก มิเช่นนั้นด้านนอกจะไหม้ก่อนด้านในสุก
การเจียว
การเจียว เป็นการทำอาหารให้สุกในน้ำมันโดยใช้ไฟอ่อน และใช้
น้ำมันน้อยกว่าการทอด อาหารที่เจียวจะหั่นหรือซอยละเอียด ใส่ลงในน้ำมันที่ยังไม่ร้อนจัด แล้วเจียวให้เหลืองทั่วกัน เช่น กระเทียมเจียว และหอมเจียว เป็นต้น
การผัด
การผัด เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้นำมันน้อย ไฟแรง เพื่อให้สุกในระยะเวลาสั้น ในขณะผัดควรใช้ตะหลิวคลุกอาหารไปมา เพื่อให้อาหารสุกอย่างทั่วถึงอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้ เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดผักรวมมิตร และผัดผักคะน้าหมูกรอบ เป็นต้น
การคั่ว
การคั่ว เป็นการประกอบอาหารโดยไม่ใช้น้ำมันนำอาหารใส่ลงในภาชนะที่แห้ง ใช้ไฟอ่อน แล้วคนอาหารไปมาตอลดเวลาเพื่อให้สุกอย่างถั่วถึง เมื่ออาหารสุกจะมีกลิ่นหอม และเหลืองกรอบ เช่น ถั่งลิสงคั่ว และมะพร้าวคั่ว เป็นต้น
การรวน
การรวน เป็นวิธีการที่คล้ายกับการคั่ว แต่ต้องใส่น้ำมัน นิยมใช้ประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และปรุงรสให้เค็มมากขึ้น เพื่อให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน เช่น ไก้รวน เป็ดรวน และปลาหมึกรวน เป็นต้น
การเผา
การเผา เป็นวิธีการที่ให้อาหารสัมผัสความร้อนโดยตรง โดยนำอาหารที่ต้องการเผาใส่ลงในไฟอ่อนๆอาหารที่นำไปเผาจะเป็นอาหารที่มีเปลือก เช่น มันเผา กุ้งเผาและปูเผา เป็นต้นเมื่อจะรับประทานให้แกะเปลือกออก
การย่าง
การย่าง วิธีนี้นิยมใช้กับอาหารสด ใช้ไฟแรงพอประมาณ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ก่อนย่างควรทาน้ำมันบนตะแกรงให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารติดตะแกรง ควรระวังอย่าให้มีเปลวไฟ เพราะจะทำให้อาหารไหม้ได้ ในขณะย่างต้องพลิกอาหารกลับไปมาเป็นระยะๆ เพื่อให้ความร้อนเข้าถึงด้านในและสุกอย่างทั่วถึง อาหารที่ย่างสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม เหลือง กรอบ เช่น ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และปลาหมึกย่าง เป็นต้น
การปิ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น